การเรียน ภาษาไทย ในชั้นอนุบาล 3 จะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น เพราะเด็กๆมีความพร้อมที่จะรับเนื้อหาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เด็กๆ ณ ดรุณ เรียนภาษาไทย ผ่านนิทานกับเพลง ในเทอมแรกเด็กๆ จะ เริ่มเขียนคำที่มี สระเดี่ยวเช่น โ-, แ-, เ- เริ่มจับคู่ เรียงลำดับความคิด โดยให้เด็กเชื่อมโยง ภาพเข้ากับคำและใจความ เมื่อเด็กรู้จักลำดับ ใจความ รู้จักความเชื่อมโยงของคำกับภาพ เด็กก็จะเขียน เป็นประโยคได้ ซึ่งเด็กจะแต่งนิทานและเขียนบรรยายภาพในเทอม 2 ในส่วนของ การฝึกพูด เด็กๆจะนำสิ่งของจากบ้านมา Show & Tell หน้าชั้นเรียน ซึ่งเด็ก
นักเรียนที่ฟังก็ต้องฝึกตั้งคำถามด้วยเช่นกันในเทอม 2 เด็กๆเรียนคำที่มีสระประสมเช่น แ-ะ, เ-ือ, เ-าะ นอกจากนั้น เด็กๆจะเริ่มแต่งเรื่อง ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน นำข่าวจากหนังสือพิมพ์ มาอ่านหน้าชั้นเรียนและสนทนากันถึงประเด็นของข่าวต่างๆ
เทอม 1
อ่านเขียนคำที่ประสมสระเดี่ยวที่มี/ไม่มีตัวสะกด
ผันคำ
จับคู่คำ
เขียนคำตามภาพและแต่งประโยค
วงกลมคำที่ตรงกับภาพ
เรียงคำให้ได้ใจความ
หาคำที่หนูรู้จัก
คำกลอน/ คำคล้องจอง
นำของมาเล่าหน้าชั้น
เทอม 2
อ่านเขียนคำที่มีสระประสมที่มี/ไม่มีตัวสะกด
ผันคำ
เขียนคำตามภาพและแต่งประโยค
วงกลมคำที่ตรงกับภาพ
เรียงคำให้ได้ใจความ
หาคำที่หนูรู้จัก
คำกลอน/ คำคล้องจอง
ตีความจากภาพ
คำปริศนา
นำข่าวมาเล่าหน้าชั้น
แต่งนิทานและนำนิทานไปเล่าให้น้องฟัง
การเรียนคณิตศาสตร์ ในชั้นอนุบาล 3 นั้นจะมีความเข้มข้นมากขึ้น เด็กจะรู้จักค่าและสามารถเปรียบเทียบตัวเลข 1-50 จากการนับของจริงที่อยู่รอบตัว และฝึกนับที่ละห้าจากการร้อยลูกปัดและนับเพิ่มทีละสิบจากเม็ดถั่วในกระปุกจนถึง 100 เด็กๆจะเรียนรู้การบวกและลบเลข(1-2 หลัก) จากสิ่งของและรูปภาพต่างๆ และเข้าใจค่าประจำตำแหน่ง (หลักหน่วยและหลักสิบ) พร้อมพูดคุย ถกเถียงเกี่ยวกับ โจทย์ปัญหาต่างๆ รู้จักกระบวนแบบ (pattern) และความสัมพันธ์ในกระบวนแบบ รู้จักการคาดเดาและทำนายสิ่งที่คาดหมายนั้นได้ นอกจากนี้เด็กๆจะรู้จักการรวบรวม และบันทึกข้อมูลและนำเสนอ ข้อมูลทางตารางและรูปภาพ
นอกจากเรื่องจำนวนและตรรกะทางคณิตศาสตร์แล้ว เด็กๆจะรู้จักและเข้าใจ คุณสมบัติของรูปทรงและการวัดใช้หน่วยไม่มาตรฐาน (มือ, เชือก) และบอกเวลา เช้าบ่ายได้ เมื่อจบอนุบาลสามเด็กๆจะสามารถตีความจากรูปธรรมเป็นสัญลักษณ์ และสามารถเชื่อมโยงจากสัญลักษณ์มาเป็นรูปธรรมได้ โดยจะมีความชำนาญมากขึ้น ในระดับประถมต้น
เด็กๆจับคู่กับเพื่อน สลับกัน จับฉลากตัวเลข 1-10 ได้ตัวเลขใดให้ดึงเทียนบนขนมเค้กออก จากนั้นบันทึกว่ามีจำนวนเทียนเหลือ อยู่เท่าไหร่ เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ เด็กๆนำภาพฤดูต่างๆไปถามพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ในโรงเรียนว่าชอบฤดูอะไร บันทึกแต้มไว้ แล้วมาระบายสีในตาราง สรุปเปรียบเทียบว่ามีความต่างและ เหมือนกันอย่างไร
ในหนึ่งสัปดาห์
นับลูกปัด 1-80 นับถอยหลัง 50-1 นับเมล็ดถั่วใส่กระปุกๆละ 10 เม็ด 7 กระปุก นับครั้งละ 10-70 เขียนตัวเลข 30-80 ระบายสีภาพที่ตรงกับตัวเลขคู่หรือคี่ด้วยสีเดียวกัน เขียนเวลาตามเข็มบนหน้าปัด เช้า -บ่าย หาจำนวนที่หนูรู้จัก
คำคล้องจอง เด็กๆสนุกกับการอ่านและเติมคำ จากนั้นวาดรูปประกอบ หัวข้อของคำคล้องจองนั้นเลือกจากหัวข้อโปรเจคและวันสำคัญทางปฏิทิน
เด็กอนุบาล 3 จะเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ โดยการทดลองซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ที่สำคัญ การทดลองนั้นเปิดโอกาสให้เด็กๆฝึกตั้งคำถามที่ตนเองสงสัย ฝึกตั้งสมมุติฐาน หาคำอธิบาย หาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรืออธิบายการเด็กอนุบาล 3 จะเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ โดยการทดลองซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ที่สำคัญ การทดลองนั้นเปิดโอกาสให้เด็กๆฝึกตั้งคำถามที่ตนเองสงสัย ฝึกตั้งสมมุติฐาน หาคำอธิบาย หาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรืออธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ Discovery Learning Process
สรุปความรู้เพื่อเก็บเป็นความจำสำหรับตนเอง
แสวงหาข้อมูลเพื่อสร้างความรู้
กระบวนการกระตุ้นความอยากรู้
อุปกรณ์
- กระดาษ
- เชือก
- สีเทียน
- กรรไกร
- เทียนไข
- ไม้ขีดไฟ
วิธีทำ
- ตัดภาพงู
- ร้อยเชือกบริเวณหัวงู
- จุดเทียน
- ถือเชือกให้หางงูอยู่เหนือเปลวเทียนสังเกตเกิดอะไรขึ้นกับงู
ความคิดเด็ก
มัฟฟิ่น เวลาโดนไฟมันร้อนมันก็จะหมุนได้
ก้อง มันมีแรงจากไฟ ไฟดึงงูทำให้งูหมุนได้
กาโม่ เวลาเราเอางูหย่อนไปที่ไฟมันหมุน ได้เพราะควันมันลอยไปดันงูให้หมุน
เมือง ไฟมันมีควันๆ มันลอยไปชนงูๆ ก็เลยหมุน
ภาม ไฟทำให้เกิดแก๊สๆ ก็ไปดันงูให้หมุน
ฟ้าใส เวลาจุดไฟอากาศจะร้อนทำให้อากาศ ไปดันงูให้หมุน
ตุลย์ เวลาที่อากาศถูกไฟอากาศจะ เคลื่อนที่ เร็วไปขยับงูให้หมุนเอง
วิน อากาศถูกไฟทำให้ร้อนก็ทำให้งูเต้น
ไทชิ เพราะอากาศมันร้อนก็เลยไปดันงู
ไชมะ มันมีอากาศที่ไม่เหมือนที่อื่น เพราะไฟเลยทำให้งูหมุนเร็ว
มาญ่า ลมมันถูกไฟก็เคลื่อนที่ไปดันงู
เมื่อเทียนเผาไหม้จะก่อให้เกิดพลังงาน 2 อย่างคือ ความร้อนทำให้อากาศลอยตัวขึ้นสูงซึ่งจะทำให้งูหมุนรอบตัว
English K3
Our K3 program at Na Daroon School expands on the knowledge learned in the first years of kindergarten and nursery. Children slowly expands their knowledge of English from identifying initial letters into reading and writing complete words, vocabulary becomes complete sentences, and sentences become back-and-forth dialogue. The year is broken up into two-week units. Each Unit has a theme with its own vocabulary focus such as: family, clothes, or computers. Each unit has its own alphabet characters or word families and each unit has a dialogue practice.
K3 learn about the letter ‘N’ by finding the letters in their names from magazines. Then they practice writing n and learning new n words.
After letters, we move our focus on to theme vocabulary including sight word recognition as well as vocabulary identification. At the end of most classes we conclude with a brief writing activity which will slowly help students prepare for the big jump into first grade. Topics explored include: Colors, numbers, computers, family, clothes, shopping, our body, actions, commands, feelings and emotions, as well as many other special brief topics that go along with special occasions, events or holidays such as sports day and Christmas.
Themed Vocabulary-learning about family members
Children make this word family reading strip and practice reading in class and bring them home.
Children circle –at words and practice reading with the teacher.
Distinguishing between two sounds by sorting out the pictures or drawing.